LANGUAGE:
Thailand Board of Investment North America
เกี่ยวกับเรา | ติตด่อเรา       BlogBlog
 
ภาพกิจกรรม
วิดีโอกิจกรรม
เม็กซิโก
Gallery
ภาพกิจกรรมล่าสุด
เข้าร่วมงาน Wharton DC Innovation Summit 2024 ครั้งที่ 10
06/23/2024 Share:

เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2567 สำนักงานเศรษฐกิจการลงทุน ณ นครนิวยอร์ก เข้าร่วมงาน the 10th Annual Wharton DC Innovation Summit 2024 ณ Valo Park, Tysons Corner รัฐเวอร์จิเนีย ภายใต้ธีม “LEVERAGE AN INNOVATION ECOSYSTEM: MAXIMIZE YOUR RESULTS” โดยมีผู้ประกอบการ ธุรกิจครอบครัว และผู้ร่วมลงทุน เข้าร่วมแชร์ประสบการณ์และข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับนวัตกรรม การเริ่มต้นทำธุรกิจสตาร์ทอัพ และการระดมทุน มีหัวข้อสำคัญ ได้แก่ นวัตกรรมความยั่งยืนและพลังงาน เทคโนโลยี ทางการแพทย์และชีวภาพ การเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน รวมไปถึงนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งในงานนี้ได้รับเกียรติจากเอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา (ดร. สุริยา จินดาวงษ์) และทีมประเทศไทยจากสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี และมีผู้เข้าร่วมงานประมาณ 120 คน 
วัตถุประสงค์ที่สำคัญในการร่วมงานในครั้งนี้ เพื่อกำหนดทิศทางที่สำคัญในการพัฒนานวัตกรรมในธุรกิจการลงทุน และพบปะกลุ่มนักธุรกิจเป้าหมายที่อาจมีศักยภาพที่จะสนใจลงทุนในประเทศไทย รวมไปถึงการพัฒนานวัตกรรมและความยั่งยืน 
ในช่วงการหารือภายใต้หัวข้อ “Creating and Leveraging Innovation Ecosystem” นั้น ผู้แทนจากประเทศไทย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ Global Chief of the CU Innovation Hub ได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรพิเศษ ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในด้านการพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรม โดยในช่วงหารือมีการเน้นย้ำถึงความสำคัญของการทำงานร่วมกันและการปลดล็อกโอกาสทางธุรกิจของสตาร์ทอัพในภูมิทัศน์ทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
1. สรุปแนวคิดหลักที่เกี่ยวข้องกับการจัดการการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม มีดังนี้
- คำแนะนำที่สำคัญสำหรับผู้ประกอบการ: ปรับตัวและเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลง โดยเน้นย้ำว่า “อย่ากลัวที่จะล้มเหลวเพราะความล้มเหลวจะเกิดขึ้น ดำเนินการและอย่าคิดมากเกินไป” บางครั้งเราควรโยนสปาเก็ตตี้เข้ากับผนังแล้วดูว่าสิ่งต่างๆ พัฒนาไปอย่างไร
- ระบบนิเวศและกฎระเบียบของสหรัฐอเมริกา ทำให้ผู้คนสามารถดำเนินการและรับความเสี่ยงโดยบรรเทาผลกระทบจากความล้มเหลว โดยมีเครื่องมือรองรับที่มาจากกฎหมายล้มละลายและการประกันการจ้างงาน
- แต่ระบบนิเวศของสหรัฐฯ มีข้อบกพร่อง ซึ่งรวมไปถึงระบบการศึกษาที่ไม่ส่งเสริมนวัตกรรมด้วย เช่น มีโปรแกรมน้อยมากที่สามารถเชื่อมโยงระหว่างการศึกษาและตำแหน่งงานในบริษัทเทคโนโลยี เป็นต้น นวัตกรรมหนึ่งที่จะตอบโจทย์ได้คือ “breakthrough labs” ซึ่งสนับสนุนนวัตกรรมในการเป็นผู้ประกอบการชนกลุ่มน้อย
- อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินการ คำแนะนำทั่วไป คือการสร้างสมดุลที่ดีระหว่างการรับความเสี่ยงและการลดความเสี่ยง
2. การจัดการการเปลี่ยนแปลงจากนวัตกรรมสู่การขยายธุรกิจ
-  นักนวัตกรรมบางคนไม่ได้เป็นนักธุรกิจที่ดี ฉะนั้นบางครั้งการพัฒนาจากระยะเริ่มต้นของนวัตกรรมไปสู่ระยะการขยายธุรกิจจึงเป็นเรื่องยาก
- ดังนั้น บางครั้งนักนวัตกรรมจึงควรปล่อยวางและปล่อยให้นักธุรกิจเข้ามาบริหารกิจการเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม และเมื่อผู้ก่อตั้งประเมินว่าธุรกิจของตนไม่สามารถเดินต่อไปได้ ก็จำเป็นต้องหลีกทางให้ผู้บริหารมืออาชีพมาบริหารองค์กรในระยะต่อไปในการขยายธุรกิจ
- ขั้นตอนสำคัญในวงจรการพัฒนาธุรกิจ: (1) นวัตกรรม (2) การขยายขนาดธุรกิจ (3) การนำออกสู่ตลาด (4) การสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ (เมื่อบริษัทต้องการการปรับขยายธุรกิจหรือเมื่อสภาพการตลาดเปลี่ยนแปลง)
- ทุกบริษัทควรมีโค้ชผู้บริหารเพื่อจัดการการเปลี่ยนแปลงหรือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดในแต่ละขั้นตอน
- รัฐบาลเป็นหน่วยงานที่พบว่าการเปลี่ยนแปลงทำได้ยากที่สุด เนื่องจากต้องใช้เวลาในการปรับตัวให้เข้ากับสภาวะที่เปลี่ยนแปลง
นอกจากนี้ บีโอไอยังได้เข้าร่วมฟังการบรรยาย ภายใต้หัวข้อ “Initiating & Maintaining Sustainability Initiatives” เพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจและรับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับทิศทางความสำคัญของเทคโนโลยีสีเขียวที่ส่งผลกระทบทั่วโลกในปัจจุบัน โดยมีประเด็นสำคัญในช่วงนี้ ได้แก่ ความยั่งยืน นวัตกรรม และการเงินจำเป็นต้องเสริมสร้างซึ่งกันและกัน การลงมือปฏิบัติจริงคือกุญแจสำคัญ: ภาคเอกชนจะปฏิบัติตาม ESG และแนวทางปฏิบัติทางธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ซึ่งเครื่องมือที่เป็นไปได้ในการสนับสนุนโครงการเพื่อความยั่งยืน ได้แก่ ERA และตัวอย่างสำคัญในอดีตคือการจัดหาเงินทุนสีเขียวสำหรับ TESLA EV เป็นต้น โดยสรุป โครงการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานหลายโครงการมีความคุ้มค่าเพราะในระยะยาวจะมีต้นทุนด้านพลังงานซึ่งทำให้ผลิตภัณฑ์มีความยั่งยืนมากขึ้น

กลับสู่หน้าภาพกิจกรรม
 
© 2013 The Board of Investment of Thailand. All rights reserved.